ebook img

การวิเคราะห์เชิงจริง (real analysis) PDF

205 Pages·0.96 MB·Thai
Save to my drive
Quick download
Download
Most books are stored in the elastic cloud where traffic is expensive. For this reason, we have a limit on daily download.

Preview การวิเคราะห์เชิงจริง (real analysis)

โครงการต ารา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศลิ ปากร การวิเคราะห์เชิงจริง Real Analysis สมเจตน์ ชยั ยะ ภาควิชาคณิตศาสตร ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศลิ ปากร การวเิ คราะห์เชิงจริง Real Analysis เมษายน 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ชัยยะ ภาควชิ าคณติ ศาสตร์ คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร คำนำ การวิเคราะห์เชิงจริง (Real Analysis) เป็นสาขาวิชาหนึ่งทางคณิตศาสตร์ที่มีสำคัญมาก ซึ่งใน อดีตนั้น ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์หรือผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ทุกคนจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงจริงไม่มากก็น้อย วิชาการวิเคราะห์เชิงจริงจึงเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เกือบทุกหลักสูตรแม้ในปัจจุบันหลักสูตรในสาขาวิชาคณิตศาสตร์จะมีการเปลี่ยนแปลงและความ แตกต่างหลากหลายมากขึ้นตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายหลักสูตรมิได้บรรจุรายวิชาการ วิเคราะห์เชิงจริงให้เป็นรายวิชาบังคับ แต่ความสำคัญของวิชาการวิเคราะห์เชิงจริงก็ไม่ได้ลดน้อย ลงไป เพราะวิชาการวิเคราะห์เชิงจริงนั้นเป็นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการศึกษาและการวิจัยในด้าน อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Propability Theory) ทฤษฎีเมเชอร์ (Measure Theory) และการวิเคราะห์เชิงฟังก์ชัน (Functional Analysis) เป็นต้น นอกจากนี้วิชาการวิเคราะห์เชิงจริงยังเป็นวิชาที่ีเหมาะสำหรับการฝึกทักษะและแนวคิดที่จำ เป็นทางคณิตศาสตร์ให้กับผู้เรียนเป็นอย่างดี เพราะเนื้อหาของรายวิชานี้จะแสดงให้เห็นถึงการ คิดวิเคราะห์อย่างละเอียดและเป็นระบบ และการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางคณิตศาสตร์ โดยเริ่ม ต้นจากการศึกษาความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว (เช่น การวัดขนาดของเซตของจำนวนจริง และการหาปริ พันธ์รีมันน์เป็นต้น)ว่ามีปัญหาหรือข้อจำกัดอะไรบ้างแล้วหาแนวทางการแก้ปัญหาหรือข้อจำกัด ดังกล่าว ซึ่งการศึกษานั้นได้เริ่มต้นจากการศึกษากรณีง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงศึกษากรณีที่มีความซับ ซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ จนในที่สุดเราก็จะได้องค์ความรู้ใหม่ที่สมบูรณ์ เช่น เราจะขยาย แนวคิดการหาปริพันธ์ของรีมันน์ เพื่อให้ได้แนวคิดใหม่ที่สามารถหาปริพันธ์ของฟังก์ชันที่มีความ ซับซ้อนเกินกว่าที่จะหาปริพันธ์รีมันน์ได้ โดยที่ยังคงแนวคิดของการหาปริพันธ์เดิมไว้ ก่อนอื่นเริ่ม ต้นด้วยการพัฒนาเครื่องมือที่จะใช้ในการวัดขนาดของเซตของจำนวนจริง ให้สามารถวัดขนาด ของเซตย่อยของจำนวนจริงที่มีความซับซ้อนได้ โดยยังคงสมบัติพื้นฐานของการวัดที่ควรมีไว้ จน ได้เครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า เมเชอร์เลอเบก (Lebesgue measure) หลังจากนั้นเราก็ศึกษาแนวคิด ของการหาปริพันธ์แบบใหม่โดยจะใช้เมเชอร์เลอเบกเป็นเครื่องมือวัดขนาดของเซตแทนการวัด ด้วยความยาวช่วง โดยเริ่มต้นศึกษากับฟังก์ชันที่มีความซับซ้อนน้อย ๆ ก่อน นั่นก็คือ ฟังก์ชัน i ii คำนำ เชิงเดียว (simple functions) แล้วจึงขยายแนวคิดไปสู่ฟังก์ชันมีขอบเขต ฟังก์ชันที่มีค่าไม่เป็น ลบ และในที่สุดเราก็ได้แนวคิดสำหรับการหาปริพันธ์ของฟังก์ชันทั่วไป ตำราการวิเคราะเชิงจริงเล่มนี้ ผู้เขียนได้ปรับปรุงมาจากเอกสารประกอบการสอนที่ใช้จริง ในการสอนรายวิชาการวิเคราะห์เชิงจริง ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีเนื้อหาสาระที่เหมาะสมใน การเรียนการสอนในหนึ่งภาคการศึกษาในระบบทวิภาค โดยถือว่าผู้อ่านได้มีความรู้พื้นฐานทาง คณิตวิเคราะห์ (Mathematical Analysis) หรือการวิเคราะห์เชิงจริงเบื้องต้น (Introduction to Real Analysis) มาพอสมควรแล้ว ผู้เขียนแบ่งเนื้อหาของตำราเล่มนี้ออกเป็น 6 บท ดังนี้ บทที่ 1 จะนำเสนอสัญลักษณ์และทฤษฎีบทเกี่ยวกับเซตที่จำเป็นต้องใช้ในตำราเล่มนี้ บทที่ 2 จะรวบรวมสมบัติและทฤษฎีบทที่สำคัญเกี่ยวกับระบบจำนวนจริงและฟังก์ชัน หากผู้ อ่านมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวดีแล้ว ผู้อ่านก็สามารถข้ามไปศึกษาบทต่อไปได้เลย บทที่ 3 จะนำเสนอแนวคิดและที่มาของเมเชอร์เลอเบก รวมทั้งความหมายและสมบัติของ ฟังก์ชันเมเชอร์ได้ บทที่ 4 จะเริ่มต้นด้วยการทบทวนบทนิยามของปริพันธ์รีมันน์และเงื่อนไขของฟังก์ชันที่จะ หาปริพันธ์รีมันน์ได้ ซึ่งจะปูแนวทางไปสู่การนิยามการหาปริพันธ์เลอเบกของฟังก์ชันเมเชอร์ได้ใน ที่สุด บทที่ 5 จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของอนุพันธ์กับปริพันธ์เลอเบก โดยเฉพาะเนื้อหาสาระที่ เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบทหลักมูลของแคลคูลัส บทที่ 6 จะศึกษาเซตของฟังก์ชันที่หาปริพันธ์เลอเบกได้บนช่วงปิด [0,1] ซึ่งจะเขียนแทนเซต นี้ด้วย Lp โดยจะแสดงว่า Lp เป็นปริภูมินอร์มที่บริบูรณ์ หรือที่เรียกว่า ปริภูมิบานาค นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นว่า เซตของของฟังก์ชันนัลเชิงเส้น F : Lp → R มีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง กับปริภูมิ Lq เมื่อ 1 ≤ p < ∞ และ 1 + 1 = 1 ซึ่งการศึกษาในบทนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการ p q ศึกษาในสาขาการวิเคราะห์เชิงฟังก์ชัน ผู้เขียนมิได้มุ่งเน้นให้ตำราเล่มนี้เป็นสารานุกรมฉบับสมบูรณ์ทางการวิเคราะห์เชิงจริง ผู้เขียน เพียงปรารถนาว่าตำราเล่มนี้จะเป็นแหล่งความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาหรือค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมต่อไป สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจในสาขาวิชานี้ ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนขอขอบคุณโครงการตำรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็น อย่างสูงที่ให้การสนับสนุนทุนการเขียนตำราเล่มนี้ และขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็น อย่างสูงที่ให้คำแนะนำเพื่อให้ตำราเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สมเจตน์ ชัยยะ สารบัญ คำนำ i 1 ทฤษฎีเซตเบื้องต้น 1 1.1 สัญลักษณ์และกฎพื้นฐานของเซต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 1 1.2 สัจพจน์การเลือก . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 5 1.3 เซตนับได้และเซตนับไม่ได้ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 7 1.4 พีชคณิตของเซต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 12 2 ระบบจำนวนจริง 15 2.1 สมบัติความบริบูรณ์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 15 2.2 ลำดับและอนุกรมของจำนวนจริง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 19 2.3 ทอพอโลยีของจำนวนจริง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 28 2.4 ฟังก์ชันต่อเนื่อง . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 39 2.5 ลำดับและอนุกรมของฟังก์ชัน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 44 2.6 เซตโบเรลและเซตคันเตอร์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 50 3 เมเชอร์เลอเบก 55 3.1 แนวคิดพื้นฐาน . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 56 3.2 เมเชอร์ภายนอก . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 60 3.3 เมเชอร์เลอเบก . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 64 3.4 ฟังก์ชันเมเชอร์ได้ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 75 4 ปริพันธ์เลอเบก 90 4.1 ปริพันธ์รีมันน์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 91 iii iv สารบัญ 4.2 ปริพันธ์ของฟังก์ชันเชิงเดียว . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 102 4.3 ปริพันธ์เลอเบกของฟังก์ชันมีขอบเขต . . . . . . . . . . . . . . . . . . 108 4.4 ปริพันธ์เลอเบกของฟังก์ชันที่มีค่าไม่เป็นลบ . . . . . . . . . . . . . . . 113 4.5 ปริพันธ์เลอเบกของฟังก์ชันทั่วไป . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 120 5 การหาอนุพันธ์ของปริพันธ์ 128 5.1 ทฤษฎีบทการปกคลุมวิตาลี . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 129 5.2 อนุพันธ์ของฟังก์ชันทางเดียว . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 132 5.3 ฟังก์ชันแปรผันมีขอบเขตและความต่อเนื่องสัมบูรณ์ . . . . . . . . . . . 139 5.4 การหาอนุพันธ์ของปริพันธ์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 146 5.5 ฟังก์ชันคอนเวกซ์และการประยุกต์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 152 6 ปริภูมิ Lp 158 6.1 ปริภูมิ L∞ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 159 6.2 ปริภูมิ Lp เมื่อ 1 ≤ p < ∞ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 160 6.3 การลู่เข้าและความบริบูรณ์ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 167 6.4 ฟังก์ชันนัลเชิงเส้นมีขอบเขต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 172 ภาคผนวก : สัจพจน์และหลักการที่สมมูลกับสัจพจน์การเลือก 184 บรรณานุกรม 191 ดัชนีคำศัพท์ภาษาไทย 192 ดัชนีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 194 บทที่ 1 ทฤษฎีเซตเบื้องต้น ในบทแรกนี้เราจะทบทวนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซตที่จำเป็นต่อการศึกษาเนื้อหาในตำราเล่มนี้ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย สัญลักษณ์และกฎพื้นฐานของเซต สัจพจน์การเลือก การนับได้ของเซต และพีชคณิตของเซต หากผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อเหล่านี้ดีแล้ว ผู้อ่านก็สามารถข้ามไป ศึกษาในหัวข้อต่อไปได้เลย 1.1 สัญลักษณ์และกฎพื้นฐานของเซต ในตำรานี้เราให้ R แทนเซตของจำนวนจริง N แทนเซตของจำนวนนับ นั่นคือ N = {1,2,3,...} Z แทนเซตของจำนวนเต็ม นั่นคือ Z = {0,±1,±2,±3,...} Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ เนื่องจากบางครั้งฟังก์ชัน ลิมิตของฟังก์ชัน หรือลิมิตของลำดับ ที่เราจะพบเห็นในบทต่อ ๆ ไปนั้น อาจมีค่าเป็น +∞ หรือ −∞ เพื่อความสะดวกเราจึงกำหนดให้ R = R∪{±∞} ให้ X เป็นเซตเอกภพ และ A ⊂ X เราจะให้ P(A) แทนเซตกำลัง (power set) ของ A และ Ac แทนคอมพลีเมนต์ของ A นั่นคือ Ac = {x ∈ X : x ∈/ A} 1 2 บทที่ 1. ทฤษฎีเซตเบื้องต้น และสำหรับ B ⊂ X เราจะให้ B −A = B ∩Ac = {x ∈ B : x ∈/ A} และ A∆B = (A−B)∪(B −A) เราเรียก A∆B ว่า ผลต่างสมมาตร (symmetric difference) ของ A และ B ให้ I เป็นเซตที่ไม่ใช่เซตว่าง และ A ⊂ X เมื่อ α ∈ I เราให้ α [ A = {x ∈ X : x ∈ A สำหรับบาง α ∈ I} α α α∈I และ \ A = {x ∈ X : x ∈ A สำหรับทุก α ∈ I} α α α∈I และเราเรียกเซต I ว่า เซตดัชนี (index set) ถ้า I = {1,2,...,n} เมื่อ n เป็นจำนวนนับ S T แล้วเราอาจเขียนแทน A และ A ด้วย α∈I α α∈I α [n A = A ∪A ∪···∪A k 1 2 n k=1 และ \n A = A ∩A ∩···∩A k 1 2 n k=1 ตามลำดับ ถ้า I เป็นเซตนับได้ (ซึ่งเราจะกล่าวถึงการนับได้ของเซตในหัวข้อต่อไป) เช่น I = N S และ I = Z เป็นต้น เราจะเรียก A ว่า ยูเนียนนับได้ (countable union) และเรียก α∈I α T A ว่า อินเตอร์เซกชันนับได้ (countable intersection) ในกรณี I = N เราอาจ α∈I α เขียน [ [∞ \ \∞ A = A และ A = A n n n n n∈N n=1 n∈N n=1 กฎการกระจาย (Distributive laws) ! [ [ B ∩ A = (B ∩A ) α α α∈I α∈I

See more

The list of books you might like

Most books are stored in the elastic cloud where traffic is expensive. For this reason, we have a limit on daily download.