ebook img

covid PDF

2.1 MB·Thai
Save to my drive
Quick download
Download
Most books are stored in the elastic cloud where traffic is expensive. For this reason, we have a limit on daily download.

Preview covid

1 ใบความรู้ เรื่อง การเรียนรู้สู้ภัย COVID-19 เนื้อหา ประกอบด้วย 1. ความเป็นมาของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. อาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3. การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 4. การใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องควรทำอย่างไร 5. วิวัฒนาการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 6. สำนักงานศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย 7. มาตรการและการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 8. แนวทางการจัดการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ 9. มาตรการและการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสำนักงาน กศน. 10. การเปิดสถานศึกษา 11. ข้อควรปฏิบัติของสถานศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 12. ข้อควรรู้ในการปฏิบัติตนช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) 1) ความเป็นมาของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรคติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการป่วย ตั้งแต่ ไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS - CoV) และโรค ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS - CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ ก่อให้เกิด อาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคนและสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อไวรัสนี้พบครั้งแรกในการระบาด เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019 หลังจากนั้นได้มีการระบาดไปทั่วโลก องค์การ อนามัยโลกจึงตั้งชื่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นี้ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Coronavirus Disease 2019 (COVID 19)) 2) อาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อาการโดยทั่วไปที่พบ มากที่สุด คือ ไข้ ไอ และอ่อนเพลีย อาการที่พบน้อยกว่าแต่อาจมีผลต่อผู้ป่วยบางราย คือ ปวดเมื่อย คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น หรือผื่นขึ้นตามผิวหนัง หรือ สีผิวเปลี่ยน ตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อย ๆ เริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) หายป่วยได้โดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการหนักและหายใจลำบาก ในส่วนของผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 2 โรคเบาหวาน หรือมะเร็งมีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงมากกว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถแพร่ระบาดได้โดยสามารถรับเชื้อจากคนสู่คนผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำลาย น้ำมูก จากจมูก หรือปาก จากการจาม หรือ พูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วเรารับ เชื้อโรคโควิด 19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย 3) การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เชื้อโควิด 19 จะกระจายผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลาย ดังนั้น จึงควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 - 2 เมตร โดยเฉพาะเมื่อยืนใกล้คนที่กำลังไอหรือจาม เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการ ซึ่งละออง ดังกล่าวอาจจะตกลงสู่วัตถุและพื้นผิวต่าง ๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ ราวบันได เป็นต้น ซึ่งเมื่อคนเอามือไปจับ พื้นผิวเหล่านั้นแล้วมาสัมผัส ตา จมูก หรือปากก็จะมีเชื้อโรคติดมือมาด้วย ดังนั้น จึงควรปิดปากทุกครั้งที่มีการไอ หรือจาม และควรล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ สบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ถูมือ หรือหลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่หนาแน่น เพราะเมื่อคนรวมตัวกันเป็นจำนวนมากจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเข้าใกล้ผู้ป่วยโควิด 19 และเมื่อคนหนาแน่นก็จะ รักษาระยะห่างได้ยาก งานศึกษาวิจัยระบุว่าไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 อาจมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสแตนเลส และพลาสติกถึง 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 4 ชั่วโมงบนทองแดง และน้อยกว่า 24 ชั่วโมงบนกล่องกระดาษแข็ง และเพื่อ เป็นการป้องกันจากการได้รับการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่ดีที่สุด คือ การอยู่บ้าน ดังคำขวัญที่ทาง รัฐบาลรณรงค์ให้คนไทยช่วยกันยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” 4) การใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องควรทำอย่างไร หน้ากากอนามัย มี 2 ลักษณะ คือ 1. หนากากทางการแพทย์ (หรือหนากากอนามัย) เช่น FFP2 /FFP 3 /N95 และ N99 หนากากเหล่านี้ ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ในบริบทที่มีการทำหัตถการที่ทำให้ เกิดละอองลอยขนาดเล็ก บุคลากรทางการแพทยตองทดลองสวมหนากากก่อนเพื่อให้แน่ใจว่า เป็นขนาดที่ เหมาะสมกับใบหนา วิธีใส่หน้ากากจะต้องล้างมือก่อนใสหนากากด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำและสบู่ ตรวจดูว่ามี รอยขาด/รู หรือไม อย่าใช้หนากากที่ใช้แลหรือชำรุด ตรวจดูว่าด้านใด คือด้านบนซึ่งปกติจะมี โครงโลหะ ดูว่าด้านใด คือด้านในซึ่งปกติจะเป็นสีขาว ปรับให้เข้ากับหน้าโดยปิดปากจมูก และคางโดยไม่มี ช่องว่างด้านข้าง ให้บีบโครง โลหะให้เข้ารับกับดั้งจมูก และจำไวว่าไม่ควรจับด้านหน้าของหนากากขณะใสอยู่หากเผลอไปจับให้ล้างมือทันที การถอดหนากากให้ถอดโดยดึงสายรัดจากหลังใบหูโดยไม่จับด้านหน้าของหน้ากาก ขณะถอดหน้ากาก โน้มตัวไปข้างหน้า และดึงหน้ากากให้ออกห่างจากใบหนา ล้างมือหลังจากถอดหน้ากากและตรวจดูสภาพของหน้ากาก เปลี่ยนหนากาก เมื่อสกปรกหรือเปียก 2. หน้ากากผ้า หนากากเย็บเอง/หนากากทำเอง โดยทั่วไปไมไดมีมาตรฐานเท่าเทียมกับหนากากทางการแพทย์ เมื่อใสแล้วควรปิดจมูก ปากและคางและรัดกระชับด้วยสายยางยืด หรือเชือกผูก ควรมีหลายชั้น และซัก/นำกลับมา ใช้ซ้ำได แต่การใช้หน้ากากผ้าเพียงอย่างเดียว ไมสามารถให้ระดับการป้องกันที่เพียงพอได ยังคงต้องรักษา ระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าและหน้ากาก วิธีดูแลหน้ากากผ้า หากยังไมสกปรก/เปียก และ ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 3 ต้องการใช้ซำ้ ให้เก็บในถุงพลาสติกที่สะอาดหรือถุงที่ปิดปากได้ เมื่อจะนำกลับมาใส ให้จับที่สายรัดเวลานำออกจากถุง ซักหนากากในน้ำสบู่หรือผงซักฟอก ทางที่ดีควรใช้น้ำร้อน (อุณหภูมิอย่างน้อย 60 องศา) ซักอย่างน้อยวันละครั้ง ใช้หนา กากของตัวเองเสมอ และไมใช้ร่วมกับผู้อื่น 5) วิวัฒนาการของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การตรวจพบเชื้อโรคโควิด -19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 และในเดือน พฤศจิกายน พบว่า ราว 1 ใน 4 ของการติดเชื้อในกรุงลอนดอนเป็นเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ แต่สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มเป็น เกือบ 2 ใน 3 ของการติดเชื้อที่พบในช่วงกลางเดือนธันวาคม เชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้อาจสามารถแพร่สู่กันได้ง่าย ขึ้นถึง 70% ปัจจุบันพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ได้ทั่วสหราชอาณาจักร ยกเว้นไอร์แลนด์เหนือ แต่พบผู้ติดเชื้อชนิดนี้มาก เป็นพิเศษในกรุงลอนดอน พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกของอังกฤษ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชา กุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถอดรหัสสายพันธุ์ พบว่า เป็นสายพันธุ์อังกฤษ หรือ ที่เรียกว่า สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7 ในประเทศไทยพบจากครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน พ่อ แม่ ลูก 2 คน มาจากเมือง Kent ประเทศอังกฤษ ติดเชื้อทั้ง 4 คน แม่และลูกเป็นก่อน พ่อเป็นทีหลัง เจ้าหน้าที่ทำการกักตัว ทั้ง 4 คนในทันทีและอยู่ใน ASQ โรงพยาบาลเอกชน อยู่ในความควบคุมและระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้เชื้อหลุดรอด ออกมาได้ 6) สำนักงานศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้มีข้อสั่งการและมาตรการออกมาเพื่อกำกับดูแล ควบคุม ติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก 2 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 ศบค.มท. ได้ออกคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกำหนด ฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 28 จังหวัด ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 และประกาศราชกิจจานุเบกษา ข้อกำหนดออกความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 3 ฉบับ โดยมีมาตรการสำคัญ ดังนี้ ฉบับที่ 15 การห้ามใช้หรือเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค การห้าม ชุมนุม มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว การปฏิบัติและบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค การประสานงาน ฉบับที่ 16 การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค เงื่อนไขการเปิด ดำเนินการ มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ และการตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 4 ฉบับที่ 17 การยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งและใช้ ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อการแจ้งข้อมูล ข้อแนะนำ การปฏิบัติตน หรือคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงหรือเลี่ยง จากการติดเชื้อ ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เพื่อให้ผู้ประกอบการ ร้านค้า ได้ลงทะเบียนรับคิวอาร์โค้ด ให้ลูกค้าเช็คอิน เช็คเอาท์ เข้าออกก่อนเข้าไปใช้บริการทุกครั้ง การยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมี มาตรการเข้มงวดอย่างยิ่ง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรสาคร การปราบปรามและลงโทษผู้กระทำผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค ผู้ที่ฝ่าฝืนย่อมเป็น ความผิดซึ่งอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 7) มาตรการและการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2564 และเพื่อให้การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ยังคงดำรงอยู่เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยมีข้อกำหนดและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 1. ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 มีข้อกำหนดเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ ข้อ 1 การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค การห้ามใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียน และสถาบันการศึกษาทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อการจัดการ เรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรมหรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (1) เป็นการเรียนการสอนหรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ (2) เป็นการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ อุปถัมภ์หรือให้การอุปการะ แก่บุคคล (3) เป็นการจัดกิจกรรมของทางราชการหรือกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยได้รับอนุญาต จากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (4) เป็นโรงเรียนหรือสถาบันกรศึกษาที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกินหนึ่งร้อย ยี่สิบคน หรือเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ข้อ 2 การห้ามจัดกิจกรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยมี มาตรการทางสาธารณสุขรองรับ ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 5 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่า ราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของ พนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ความรับผิดชอบ ข้อ 7 ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลานี้ ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือการสลับวันหรืการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติงาน ลดจำนวนผู้ปฏิบัติงาน และปริมาณการเดินทางซึ่งเป็นมาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 2. คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ที่1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตาม ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2564 กำหนดให้ 28 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรปราการ จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง ชุมพร และระนอง เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด 8) แนวทางการจัดการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีแนวทางการจัดการเรียนการสอน เพื่อรับมือและตอบโต้การแพร่ระบาดใหม่ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้มแี นวปฏิบัติในสถานศึกษา ดังนี้ 1. จัดทำแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน อาทิ จัดการเรียนการสอนแบบ Online หรือ On air ในพื้นที่ควบคุมสูง และรูปแบบผสมผสานตามหลัก Social Distancing ในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูงตาม แนวทางของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2. จัดทำแนวทางเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน ดังนี้ 6 มาตรการหลัก 6 มาตรการเสริม 1. คัดกรองวัดไข้ (Screening) 1. ดูแลตนเอง (Self-care) 2. สวมหน้ากาก (Mask Wearing) 2. ใช้ช้อนกลางส่วนตัว (Personal spoon Using) 3. ล้างมือ (Hand Washing) 3. กินอาหารปรุงสุกใหม่ (Cooked Eating) 4. เว้นระยะห่าง (Social Distancing) 4. ลงทะเบียนไทยชนะ (Register) 5. ทำความสะอาด (Cleaning) 5. สำรวจตรวจสอบ (Check) 6. ลดการแออัด (Reducing) 6. กักกันตัวเอง (Alternate Quarantine) 3. จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับโรงเรียนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อประเทศเพื่อนบ้านและมีนักเรียนข้ามชายแดน มาเรียน และการจัดการศึกษาในลักษณะประจำพักนอนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่ระบาดใหม่ 4. ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานที่ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอน เพื่อรับมือและตอบโต้การแพร่ระบาด ใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษา ที่ทำให้การดำเนินการไม่อาจบรรจุผลสำเร็จได้ ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 6 5. รายงานสถานการณ์ และผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงที่มีการแพร่ระบาดใหม่ 6. แจ้งเวียนแนวปฏิบัติและมาตรการตามแนวทาง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 9) มาตรการและการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. แจ้งแนวทางการดำเนินการเพื่อให้สถานศึกษา มีแนวปฏิบัติจัดการเรียนการสอนในช่วง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยวิธี Online Onsite หรือ On air ในพื้นที่ควบคุมสูง และรูปแบบผสมผสานตามหลัก Social Distancing ในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูงตามแนวทางของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 1. ให้จัดทำปฏิทิน/แผนการดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยให้มีการเรียนการสอนชดเชยให้ครอบหลักสูตร 2. การดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มอบหมายให้สถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. จัดการเรียนการสอนที่สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยให้สถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เช่น การเรียนออนไลน์ มีการตรวจสอบ รายชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียน การทำใบงาน การมอบหมายงาน การส่งงาน และการวัดประเมินผล 3. สามารถดาวน์โหลดสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในรายวิชาบังคับตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องด้านอาชีพ ได้ที่ ช่อง pattana channel 4. รายงานผลการจัดการเรียนการสอนและดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสำนักงาน กศน. การเปิดสถานศึกษา - มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนเข้าอาคารสถานศึกษา โดยเจ้าหน้าที่สถานศึกษา หรือผู้ได้รับมอบหมายที่ผ่านการอบรมการตรวจคัดกรองอาการป่วย และรายงานหน่วยงานรับผิดชอบ กรณีพบผู้ที่ เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด - ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสร่วมบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการเรียนการสอน รวมถึงห้องสุขาและให้ กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน - ให้ควบคุมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด (กรณีห้องปรับอากาศให้คิดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามขนาดพื้นที่ห้อง เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 5 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน) หรือลดเวลาทำกิจกรรมเท่าที่ จำเป็นโดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน ทั้งนี้ให้พิจารณาปรับเวลาการเรียน สลับวันเรียน ปรับการ เรียนเป็นระบบออนไลน์ ออนแอร์ ในบางรายวิชา หรือปรับให้งดเรียนบางวิชา บางกิจกรรม - ให้พิจารณาดำเนินกิจกรรมตามความเหมาะสม และให้ลงทะเบียนยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 7 - ให้มีการควบคุมทางเข้าออก ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการการใช้ แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนดหรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนได้ - จัดเตรียมอุปกรณ์ล้างมือ เช่น แอลกอฮอล์ไว้บริเวณทางเข้าสถานที่ และตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับ การล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้อยู่ในสภาพดี - จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดีรวมถึงภายในห้องสุขา ทั้งนี้ให้ทำความสะอาด เครื่องปรับอากาศ และจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาซักผ้าขาว 2 ฝา ต่อน้ำ 1 ลิตร (โซเดียมไฮโปคลอไรด์ 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร) สำหรับการฆ่าเชื้อพื้นผิว) ใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับ การเช็ดฆ่าเชื้อโรคของชิ้นเล็กๆ - จัดให้มีการแนะนำผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ครู นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้รับบริการ และผู้ร่วมกิจกรรม รวมถึงให้มีการตรวจตรา ควบคุม กำกับการเรียนการสอน การสอบ สอบคัดเลือกการฝึกอบรม และงานธุรการ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด - ให้พิจารณานวัตกรรมการลงทะเบียน ก่อนเข้า และออกจากสถานที่ และระบบการเรียนการสอนแบบ ออนไลน์ เพื่อให้มีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในระยะยาว - จัดให้มีการเหลื่อมเวลาเรียน การเรียนกลุ่มย่อย หรือวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมตามบริบทสถานการณ์ และเน้นให้ผู้เรียนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะเรียน/ ร่วมกิจกรรมตลอดเวลา 10) ข้อควรปฏิบัติของสถานศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 คำแนะนำสำหรับผู้บริหาร - ต้องมีการป้องกันตนเองโดยการใช้หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตาปาก จมูก โดยไม่จำเป็น - ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา - แจ้งบุคลากร ที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ หรือกลับจากพื้นที่ เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้หยุดปฏิบัติงาน ขอความร่วมมือกรณีที่มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด- 19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขอย่าง เคร่งครัด - จัดให้มีการคัดกรองบุคคลบริเวณทางเข้าสถานศึกษา ด้วยการดูอาการในเบื้องต้นหรือใช้เครื่อง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายพร้อมทำสัญลักษณ์บุคคลที่ผ่านการคัดกรอง เช่น ติดสติกเกอร์ ตราปั๊ม หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม หากพบว่ามีอาการเจ็บป่วย (ไข้ ไอ จาม หายใจเหนื่อยหอบ ) ให้ไปพบแพทย์ - ทำความสะอาด สิ่งของ เครื่องใช้ อาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอกอาการทันที กรณีมี ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ครู นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้รับบริการ และผู้ร่วมกิจกรรม กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือและเข้ามาในสถานศึกษา ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 8 - พิจารณาจัดกิจกรรมในสถานศึกษาตามความเหมาะสม หากมีการรวมตัวกันของคนเกินกว่า 300 คน ขึ้นไป ควรงดจัดกิจกรรมไปก่อน - ควรพิจารณาการจัดให้ผู้เรียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เหมาะสมตามบริบทอย่างต่อเนื่อง กรณีปิดสถานศึกษาให้มีการเรียนทางไกล ออนไลน์ - ควบคุม กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคโควิด -19 ในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง 11) ข้อควรรู้ในการปฏิบัติช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เมื่อต้องเฝ้าสังเกตอาการ ๑๔ วัน ที่บ้านควรปฏิบัติตนอย่างไร - ให้สังเกตอาการตนเอง หากมีไข้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสีย ร่วมด้วย ให้พบแพทย์ - แยกห้องนอน แยกของใช้ส่วนตัว (แก้วน้ำ จาน ช้อน ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ ฯลฯ) และแยกทำความสะอาด แยกห้องน้ำ กรณีแยกไม่ได้ ควรใช้ห้องส้วมเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดทันที ปิดฝาชักโครกทุกครั้ง ก่อนกด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค - หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอออล์เจล หากต้องพบผู้อื่น ให้สวมหน้ากากอนามัยและทิ้ง หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วใส่ถุงก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วทำความสะอาดมือทันท ี - หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว - งดกิจกรรมนอกบ้านจนกว่าจะครบตามเวลาที่กำหนด มาตรการป้องกันส่วนบุคคลในพื้นที่ควบคุมสูงสุดกับพื้นที่ควบคุมต่างกันอย่างไร ตามที่หลายพื้นที่ได้ประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและมีมากกว่า 1 พื้นที่ นั้น และการประกาศนั้นอาจประกาศทั้งจังหวัด หรือบางอำเภอ หรือพื้นที่เฉพาะการประกาศเช่นนี้จะทำ ให้พื้นที่ติดกันจะกลายเป็นพื้นที่ควบคุม ทั้งนี้โดยเป็นไปตามมาตรการที่ ศบค. ได้ประกาศไว้ว่าพื้นที่ควบคุม หมายถึงพื้นที่ติดกับพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ เกินกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น สำหรับมาตรการส่วนบุคคลในการป้องกันโรคนั้น ไม่ได้แตกต่างกัน เว้นแต่พื้นที่ควบคุมสูงสุดให้ติดตั้ง แอปพลิเคชั่น หมอชนะเพิ่มเติมด้วย โดย ศบค. ได้กำหนดให้ - สวมหน้ากากอนามัย 100 % - เน้นการทำความสะอาด มือ สถานที่หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อย ๆ - หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก - ติดตั้งแอปพลิเคชั่นไทยชนะและสแกนอยู่เสมอ ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 9 การทำความสะอาดมือสามารถป้องกันโควิดได้อย่างไร เนื่องจากเชื้อโควิดสามารถแพร่ได้โดยการไอ จาม การพูด การตะโกน ทำให้เกิดละอองฝอยของน้ำลาย โดยเฉพาะการไอจามหากใช้มือปิดปาก และนำมือมาจับที่พื้นผิวอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน หากมีคนมาใช้อุปกรณ์ต่อ และใช้มือจับจมูก ปาก ตา ก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนั้นภายหลังไอจาม ควรล้างมือให้สะอาด วิธีทำความสะอาดมือที่ดีที่สุดคือ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ถูให้สบู่ทั่วทุกซอกมุม นานอย่างน้อย 20 วินาที แล้วล้างน้ำออก ทั้งนี้ สบู่จะมีกลไกในการทำลายเชื้อไวรัสโดยทำลายไขมันที่เปลือกของเชื้อไวรัสและยังทำลายการ ยึดโยงส่วนประกอบสำคัญของไวรัส ทำให้ไวรัสแตกตัวออกจนไม่สามารถแพร่เชื้อได้ และภายหลังล้างด้วยสบู่ เรายัง ล้างด้วยน้ำสะอาด ก็จะทำให้ไวรัสที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ไหลไปกับน้ำด้วย แต่หากไม่สะดวก ที่จะใช้น้ำและสบู่ ให้ ล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ได้ โดยเทเจลแอลกอฮอล์ลงในฝ่ามือขนาดพอประมาณ ถูให้ทั่วมือ ทิ้งไว้ให้แห้ง ทั้งนี้เจล แอลกอฮอล์ควรมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป แต่หากมือมีคราบสกปรก เช่น มีคราบเศษอาหาร เปื้อนคราบ สกปรก รวมทั้งหลังจากใช้ส้วมควรล้างด้วยน้ำและสบู่ จะดีกว่าล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังควรล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังจับสิ่งสกปรก การทำความสะอาดสถานที่หรืออุปกรณ์ที่สัมผัสร่วมกันบ่อย ๆสามารถป้องกันโควิด ได้อย่างไร เนื่องจากเชื้อโควิดสามารถแพร่ได้โดยการไอ จาม การพูด การตะโกน ทำให้เกิดละอองฝอยของน้ำลาย หากละอองฝอยนี้ตกลงบนพื้นผิวอุปกรณ์ที่มีการใช้งานร่วมกัน หรือเกิดจากการไอจามและใช้มือปิดปากและนำมือมา จับที่พื้นผิวอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน หากมีคนมาใช้อุปกรณ์ต่อและใช้มือจับจมูก ปาก ตา ก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได ้ สำหรับคนทั่วไป จึงควรละเว้นการสัมผัสสิ่งของโดยไม่จำเป็น ส่วนเจ้าของหรือผู้ดูแลสถานที่ก็ควรให้มีการ ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการใช้งานร่วมกัน เช่น ราวบันไดเลื่อน ลูกบิดประตูปุ่มกดลิฟท์ โดยสม่ำเสมออย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง แต่หากมีคนใช้งานจำนวนมาก อาจเพิ่มความถี่ขึ้น เป็นวันละ 3 ครั้ง หรือทุก 2 ชั่วโมง หรือทุกรอบ การให้บริการ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อผ่านทางการสัมผัสพื้นผิวที่มีการใช้งานร่วมกันและเพื่อให้เกิดความ ปลอดภัย ภายหลังทำความสะอาดแล้ว อาจฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับพื้นผิว ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า มีสารฆ่าเชื้อ 3 ชนิดที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัสได้ภายในเวลา 1 นาที คือ - เอธานอล ความเข้มข้น 70-90% ความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดคือ เอธานอล 70% เนื่องจากใช้ แอลกอฮอล์น้อยที่สุดแต่ให้ผลในการทำลายเชื้อได้ดี มีปริมาณน้ำที่พอเหมาะจะทำให้พื้นผิวเปียกและช่วยให้ แอลกอฮอล์สามารถแทรกซึมและกระจายตัวได้ดี - ผลิตภัณฑ์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ มีการใช้มากอยู่ในรูปโซเดียมไฮโปคลอไรต์ โดยการฆ่าเชื้อที่ พื้นผิวทั่วไป แนะนำให้ใช้ที่ความเข้มข้น 1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.1%) สำหรับบริเวณที่มีการปนเปื้อนเลือดหรือ อื่น ๆ ปริมาณมาก แนะนำให้ใช้ที่ความเข้มข้น 5,000 ส่วนในล้านส่วนหรือ 0.5% การใช้สารนี้ในการทำลายเชื้อ โรค ต้องมีการทำความสะอาดพื้นผิวเพื่อขจัดสารอินทรีย์ที่พื้นผิวก่อน - ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มากกว่าหรือเท่ากับ 5,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5%) ไม่เหมาะกับพื้นผิวที่เป็น โลหะและผลิตภัณฑ์ที่มีการเคลือบสี และต้องระมัดระวังการใช้งานเนื่องจากมีความเป็นกรดสูง การใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อนั้น ควรเลือกสารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อกลุ่มเป้าหมายได้ดีไม่ถูกทำลายได้ ง่าย ต้องไม่ทำลายพื้นผิว ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองกับผู้ใช้งานและมีราคาที่เหมาะสมด้วย ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 10 ทำไมจึงต้องหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เนื่องจากเชื้อโควิด 19 มีการแพร่โดยตรงผ่าน น้ำมูก น้ำลายผู้ป่วย จากละอองฝอยที่เกิดจากการพูดคุย เสียงดัง การตะโกน และการติดต่อทางอ้อมผ่านพื้นผิวหรือวัตถุที่มีเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยปนเปื้อน หากเราอยู่ใกล้ชิด กับผู้มีเชื้อ ในระยะน้อยกว่า 2 เมตร เป็นเวลานาน เช่น อยู่ร่วมห้องพูดคุยกัน หันหน้าเข้าหากัน เป็นต้น ก็อาจเป็น สาเหตุของการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อหลายคนไม่แสดงอาการ จึงไม่ทราบว่าเขามีเชื้อหรือไม่ การที่เราเข้าไปในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เราไม่ทราบว่าใครมีเชื้อบ้าง จึงควรหลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ แออัดเป็นเวลานาน หากจำเป็น ให้ใช้เวลาน้อยที่สุด พร้อมมีการป้องกันตัวเองด้วยการใส่หน้ากากตลอดเวลา ไม่ สัมผัสพื้นผิวโดยไม่จำเป็น รักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร หากจะไปห้างควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้ปลอดภัยจาก COVID-19 1. สังเกตอาการตนเองสม่ำเสมอหากมีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ร่วมกับไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ไปใช้บริการ และพบแพทย์ทันที 2. ใช้บริการเท่าที่จำเป็นและควรใช้เวลาให้น้อยที่สุด วางแผนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายใน ห้างสรรพสินค้าฯ ล่วงหน้า และหากเป็นไปได้ผู้สูงอายุที่ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการไปใช้บริการ 3. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ภายในห้างสรรพสินค้าฯ 4. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และหลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้ให้บริการเกินจำเป็น 5. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ ก่อนและหลังใช้บริการ หรือหลังจากสัมผัสหยิบจับ สินค้า สิ่งของ เครื่องใช้ เมื่อกลับถึงบ้าน ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าและอาบน้ำทันที ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไรในการไปใช้บริการโรงภาพยนตร์ 1. สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมี อาการท้องเสียร่วมด้วย งดไปใช้บริการ และพบแพทย์ทันที 2. ใช้บริการเท่าที่จำเป็น ลดการสัมผัส โดยการจองตั๋วและจ่ายเงินแบบออนไลน์ การตรวจบัตร โดยการสแกน 3. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ชมภาพยนตร์ 4. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และหลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้ให้บริการเกินจำเป็น 5. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนเข้าและออกจากโรงภาพยนตร์ หรือหลังจากหยิบจับ สิ่งของหรือจุดที่มีการสัมผัสร่วมกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น เมื่อกลับถึงบ้านควร อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที 6. ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการใช้บริการ ที่มา : กรมควบคมุ โรค กระทรวงสาธารณสขุ และสา นกั งานศนู ยบ์ ริหารสถานการณแ์ พรร่ ะบาดของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019

See more

The list of books you might like

Most books are stored in the elastic cloud where traffic is expensive. For this reason, we have a limit on daily download.